Mario Tamagno
ประวัติโดยสังเขป นายมาริโอ ตามัญโญเกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2420 ณ.เมืองตูริน ประเทศอิตาลี ตามาญโญได้เข้าศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ วิทยาลัยศิลปะอัลแบร์ตีนา ผลการเรียนดีเด่นถึงขั้นได้รับเหรียญรางวัลและทุนการศึกษาหลายครั้ง หลังจากสำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2438 ได้ร่วมสอนวิชาทางด้านทัศนียภาพวิทยาที่อัลแบ์ตินากับแฟร์โร ผู้ที่แนะนำให้เขาเดินทางมาทำงานที่กรุงเทพฯ คือ สถาปนิกชื่อ คาร์โอ เชปปี ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2443 ตามาญโญจึงออกเดินทางด้วยเรือ "โคนิก อัลเบิร์ต" มายังประเทศสยามและเซ็นสัญญาทำงานราชการในกรมโยธาธิการแทนนายซันเดรสกีซึ่งย้ายไปทำวังสวนดุสิต กรมโยธาธิการขาดสถาปนิกจึงจำเป็นต้องจ้างคนใหม่มาช่วยราชการ และเห็นว่าไม่จำเป็นต้องจ้างคนใหม่ในตำแหน่งหัวหน้า จะจ้างแต่สถาปนิกระดับผู้ช่วย พอที่จะทำงานในหน้าที่ออกแบบเขียนแบบได้ก็พอ เพื่อการจ่ายเงินค่าจ้างจะได้ลดลงด้วย กรมโยธาธิการจึงได้จ้างจ้างนายตามัญโญเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายสถาปัตยกรรม ในพ.ศ.2446 มีเงินเดือน เดือนละ48 ปอนด์ ทำสัญญาเป็นระยะเวลา25ปี โดยหลังจากหมดสัญญานายตามัญโญก็เดินทางกลับบ้านเกิด ซึ่งขณะนั้นอิตาลีอยู่ในช่วงเริ่มต้นของระบอบฟาสซิมส์มีการออกกฏหมายให้สถาปนิกต้องเข้าเป็นสมาชิกองค์กรสถาปนิก ตามัญโญก็ยังคงประกอบวิชาชีพสถาปนิก ในบรรดาสถาปนิกในเมืองตูรินมีเขาคนเดียวที่ไม่ได้เข้าร่วมสมาชิกพรรคฟาสซิสม์ต่อมาตามัญโญได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งและเสียชีวิตในปีพ.ศ.2484
![]() |
นายมาริโอ ตามัญโญ |
นายมาริโอ ตามัญโญทำงานอยู่ที่สยามเป็นเวลานานถึง25ปี จึงสร้างผลงานไว้มากมายโดยผู้ที่เก็บหลักฐานการทำงานของนายมาริโอคือเอเลนา ตามาญโญ ผู้เป็นหลานปู่ ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์สาขาวิชาการออกแบบก่อสร้างอยู่ที่ วิศวกรรมศาสตร์ทีี่ตุริน
งานชิ้นแรกที่ตามาญโญรับผิดชอบคือ สะพานมัฆวานรังสรรค์ เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างถนนราชดำเนินนอก ซึ่งเป็นถนนขนาดใหญ่ แบบที่เรียกว่า Avenue ของทวีปยุโรป อยู่ในพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ผู้ออกแบบคือ นายคาร์โล อัลเลกรี นายช่างชาวอิตาลี โดยนายตามัญโญนั้นเป็นผู้ช่วนในการออกแบบและคุมงานก่อสร้าง สร้างตามสถาปัตยกรรมอิตาลีและสเปน ใช้เวลา 3 ปี ลักษณะเป็นสะพานโครงสร้างคานเหล็กพื้นคอนกรีต ส่วนประดับคือรางสะพานที่เป็นเหล็กหล่อและดวงตรารูปช้างเอราวัณ ที่กลางสะพานมีเสาหินอ่อน มุมสะพานรองรับโคมไฟสำริด ผนังเชิงลาดสะพานประดับด้วยหินอ่อน สะพานแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นสะพานที่สวยงามสะพานหนึ่งในกรุงเทพฯ รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดเมื่อ พ.ศ. 2446 และพระราชทานนามว่า สะพานมัฆวานรังสรรค์
อนึ่ง สะพานที่สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษมนี้มีชื่อเรียกคล้องจองกัน คือ สะพานเทเวศรนฤมิตร สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ สะพานมัฆวานรังสรรค์ สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรพักตร์รังสฤษดิ์ ซึ่งทั้งหมดแปลว่า "สะพานที่สร้างโดยเทวดา"
![]() |
สะพานมัฆวานรังสรรค์ |
"สะพานเก่าพังหมดแล้ว ต้องเร่งซ่อมให้ทันรับเสด็จฯ กลับจากยุโรป"
และในปีนี้เอง ตามาญโญก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้านายช่างสถาปนิก
![]() |
สะพานผ่านฟ้าลีลาสและซุ้มรับเสด็จแบบจีน |
![]() |
บ้านที่ถนนสาทร |
![]() |
ห้องทำงาน |
![]() |
ห้องทำงาน |
![]() |
บุตรสาวของตามัญโญ |
การออกแบบตำหนักพญาไท โดยสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งต่างๆ เป็นแบบโรแมนติก มาริโอ ตามัญโญ ออกแบบพระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ส่วนพระที่นั่งอื่นๆ ไม่มีหลักฐานแน่ชัด ตัวอาคารมีการตกแต่งด้วยปูนปั้น ไม้แกะสลัก ตกแต่งภายในเป็นปูนปั้นและจิตรกรรมปูนเปียก มีความแปลกน่าตื่นใจ และงดงามด้วยฝีมือช่างที่ละเอียดประณีต ภายในบริเวณพระราชวังมีภูมิสถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์ที่สำคัญคือ สวนโรมัน ซึ่งเป็นสวนแบบโรแมนติกเช่นกัน
![]() |
พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ |
ลักษณะผังโดยรวมของพระที่นั่งอนันตสมาคมดูคล้ายไม้กางเขน ที่มีแขน 2 แขน แต่ความจริงแขนกางเขนที่สำคัญมีเพียงแกนเดียวคือแกนตัดด้านตะวันออก ตรงที่เป็นโถงกลาง (CROSSING) ครอบด้วยหลังคาโดมขนาดใหญ่ ส่วนที่ดูเหมือนแกนตัดด้านทิศตะวันตกความจริงเป็นห้องกลมที่ยื่นออกมาจากแกนอาคารทั้ง2ข้าง มุขกลมนี้นอกจากประโยชน์ใช้งานแล้วถูกเสริมเข้าไปเพื่อให้ผังดูเด่นขึ้น
ผังพื้นพระที่นั่งอนันตสมาคม |
![]() |
ภาพพระพุทธชินราช |
พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นมาแบบสถาปัตยกรรม แบบอิตาเลียนเรอเนสซองส์ และแบบนีโอคลาสสิก(Neo classic) ภายนอกประดับด้วยหินอ่อนซึ่งสั่งมาจากเมือง คารารา (Carara) ประเทศอิตาลี องค์พระที่นั่งเป็นอาคารมหินอ่อนสองชั้น มีโดมสูงใหญ่อยู่ตรงกลาง และมีโดมเล็กๆ โดยรอบตึก 6โดม รวมทั้งสิ้นมี 7 โดม ส่วนกว้างขององค์พระที่นั่ง ประมาณได้ 47.49 เมตร ยาว ประมาณ 112.50 เมตร ส่วนสูงประมาณ 47.49 เมตร
![]() |
ภาพขณะกำลังก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม |
![]() |
เปรียบเทียบสถานีหัวลำโพงและFrankfurt station |
![]() |
ภาพวาดศาลาไทยที่สวนวาเลนติโน อิตาลี |
![]() |
ภาพถ่ายศาลาไทยที่สวนวาเลนติโน อิตาลี |
ตามัญโญได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก และได้รับเครื่องราชอิสริยภรณ์ชั้น Cavaliere della Corona จากรัฐบาลอิตาลี และชั้น Officier de l' Instruction Publique จากรัฐบาลฝรั่งเศส ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 วิทยาลัยศิลปะอัลแบร์ตีนาได้แต่งตั้่งให้เขาเป็นราชบัณฑิต
จากประวัติเท่าที่สืบหามาได้พร้อมกับเรื่องราวที่เขียนถึงชีวิตส่วนตัวอันน้อยนิด จึงสามารถวิเคราะห์ถึงความสามารถความเพียรของสถาปนิกเอกชาวต่างชาติคนนี้ได้เป็นอย่างดี ทั้งความจงรักภักดีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานสถาปัตยกรรมในประเทศสยามนี้โดยไม่คำนึงถึงความสุขส่วนตัวของตนเอง ทั้งยังเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนและใช้ชีวิตอย่างสมถะ เป็นแบบอย่างที่ดีของสถาปนิกทุกคนที่สมควรจะนำมาใช้ในการทำงานและการปฏิบัติชีวิตต่อไปในภายภาคหน้า
ประจักษ์พยานแห่งความขี้อายของนายช่างสถาปนิกผู้นี้คือ ภาพถ่ายพิธีเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ - เพชรบุรี ซึ่งเขาเขียนชื่อผู้ที่อยู่ในภาพ ใกล้องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้ทุกคน ยกเว้นชื่อตัวเอง และเขียนคำอธิบายไว้ว่า
"แทนที่จะอยู่ร่วมกับบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ ซึ่งมิได้สวมหมวกจึงหลบแดดเข้าไปอยู่หลังคนอื่นในศาลาอย่างกล้าหาญ"
อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้ได้จัดให้เขาอยู่ในตำแหน่งที่เขาควรอยู่แล้ว
"แทนที่จะอยู่ร่วมกับบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ ซึ่งมิได้สวมหมวกจึงหลบแดดเข้าไปอยู่หลังคนอื่นในศาลาอย่างกล้าหาญ"
อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้ได้จัดให้เขาอยู่ในตำแหน่งที่เขาควรอยู่แล้ว
![]() |
วิศวกรชาวอิตาเลียนที่ไซท์งานก่อสร้างทางรถไฟกรุงเทพฯ - เพชรบุรี |
เที่ยว1วันตามรอยมาริโอ ตามัญโญ
การเดินทางตามรอยสถาปนิกเอกของกรุงสยามในวันเดียวโดยเป็นการเดินทางรอบพระนครนะครับลองมาติดตามดูว่าผลงานของนายมาริโอ ตามัญโญนั้นแทรกตัวอยู่ในเมืองกรุงนี้ได้อย่างงดงามและแสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพของสถาปนิกชาวตูรินนี้ได้เป็นอย่างดี
เราเริ่มต้นการเดินทางนี้จากพระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งเป็นท้องพระโรงของพระราชวังดุสิตถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่5 แล้วเสร็จในช่วงรัชกาลที่6นะครับ ถูกยกย่องว่าเป็นท้องพระโรงที่อลังการและสร้างอย่างสง่าที่สุด
ซึ่งภายในพระที่นั่งนี้งดเว้นการถ่ายรูปทุกชนิดจึงได้แต่ถ่ายรูปห่างๆเท่านั้นครับ
แสดงความวิจิตรของตัวพระที่นั่งซึ่งแกะสลักตัวหินอ่อนได้อย่างงดงาม |
ทางเข้าหลักของตัวพระที่นั่ง ซึ่งทางซ้ายจะเป็นทางเข้าสู่บันไดที่เชื่อมไปสู่ท้องพระโรงส่วนด้านขวาจะเชื่อมกับห้องรับรอง |
และยังมีงานชิ้นเอกอีกมากมายซึ่งความรูปสึกที่ได้เข้าไปสัมผัสกับงานชิ้นเอกเหล่านี้รวมเข้ากับความสวยงามของสถาปัตยกรรมที่มีพลังแล้ว สามารถกล่าวได้เลยว่าเป็นความประทับใจอย่างหาที่สุดมิได้จริงๆ ซึ่งภายในพระที่นั่งอนันตสมาคมนั้น เป็นสถาปัตยกรรมฝรั่งที่แฝงความเป็นไทยไปในรายละเอียดทั้งงานตกแต่ง และภาพเขียนที่โดดเด่นและสวยงามบนเพดาน และด้วยสเปซของตัวโดมที่ทำให้ตัวท้องพระโรงนี้ดูยิ่งใหญ่แล้ว จึงเกิดความรู้สึกที่อธิบายเป็นคำพูดได้ยากเหลือเกินครับ
ซึ่งนิทรรศการงานศิลป์แผ่นดินจะเปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์ 10.00-17.00 ครับ ซึ่งเป็นนิทรรศการที่ผมแนะนำให้ไปดูและอย่าพลาดเลยครับ
จากพระที่นั่งอนันตสมาคมเรามาดูสถาปัตยกรรมชิ้นแรกที่นายมาริโอ ตามัญโญได้มีส่วนร่วมในการสร้างนั้นคือสะพานมัฆวานรังสรรค์ครับ ซึ่งสามารถเดินทางมาจากถนนราชดำเนินนอกจากตัวพระที่นั่งได้เลย สะพานนี้ใช้ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมครับ โดยเป็นโครงสร้างคานเหล็กพื้นคอนกรีต ส่วนประดับคือรางสะพานที่เป็นเหล็กหล่อและดวงตรารูปช้างเอราวัณที่กลางสะพาน มีเสาหินอ่อนมุมสะพานรองรับโคมไฟสำริด ผนังเชิงลาดสะพานประดับด้วยหินอ่อน
ดวงตรารูปช้างเอราวัณ |
เสาหินอ่อนมุมสะพานรองรับโคมไฟสำริด |
เป็นอาคารสูง 3 ชั้น มีผังเป็นรูปตัวอี (E) ก่ออิฐถือปูนเรียบทาสีเหลืองอ่อนโดยออกแบบให้มีระเบียงในส่วนด้านหน้าของอาคารทุกชั้น
ลดการตกแต่งละประดับประดาลง |
ยังคงไว้ซึ่งรูปแบบของสถาปัตยกรรมเรเนสซองค์ |
โถงทางเข้า |
ประวัติโดยสังเขปของห้องสมุดแห่งนี้นะครับ ภายหลังการเสียชีวิตของนางเจนนี่ เนลสัน เฮส์ ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งห้องสมุดบางกอก ไลบารี แอสโซซิเอชั่น ร่วมกับภรรยาหมอบรัดเลย์ และหมอสมิธ เพื่อให้บริการ แก่ชาวต่างชาติ นายแพทย์เฮส์แพทย์ใหญ่ประจำการในกรมการ แพทย์ทหารเรือไทย ผู้เป็นสามีได้สร้างอาคารห้องสมุด เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักขึ้นในพุทธศักราช 2464
โดยปกติแล้วตามที่นายมาริโอ ตามัญโญออกแบบไว้นั้นทางเข้าหลักจะอยู่ที่ตัวโดมที่ติดกับถนน แต่ทว่าในปัจจุบันทางเข้าถูกปรับเปลี่ยนให้เข้าจากทางด้านข้างเพราะ ที่จอดรถของตัวห้องสมุดอยู่ทางด้านข้าง และต้องการให้มีเพียวทางเข้าเดียวเพื่อสะดวกแก่การดูแลผู้ใช้บริการ ทางเข้าทางด้านหน้าเลยถูกปิดไป
![]() |
ทางเข้าเดิม ซึ่งเชื่อมต่อกับโถงด้านใน |
![]() |
รูปด้านหน้าที่นายมาริโอ ตามัญโญออกแบบไว้ |
ภาพบรรยากาศภายใน |
ภาพบรรยากาศภายใน |
และส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้คือสเปซของโถงที่โดมครอบอยู่ทางด้านหน้านั้น ให้ความรูปสึกที่สวยงามอย่างยิ่งทั้งยังมีการเจาะช่องแสงให้แสงจากภายนอกส่องลงมา และยังมีศิลาจารึกที่กล่าวถึงภรรยาที่จากไปด้วยนั้น ทำให้เป็นโถงที่ให้ความรู้สึกที่พิเศษจริงๆ
ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้ห้องสมุดนี้สวยงามดั่งคำกล่าวที่มีคนขนานนามว่าห้องสมุดที่สวยที่สุดในกรุงเทพได้จริงๆ อีกทั้งยังได้ชื่อว่าทัชมาฮาลของคนรักการอ่านหนังสือ ด้วยเพราะสถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยความทรงจำ และความคิดถึงของคนหนึ่งๆ จึงทำให้ให้สถานที่แห่งนี้พิเศษยิ่งขึ้นและจะคงความพิเศษนี้อีกนานและนานต่อไปสมกับชื่อห้องสมุดแห่งความรักจริงๆครับ
ซึ่งการเดินทางในครั้งนี้ผมคงขอจบลงด้วยสถานที่แห่งความทรงจำที่พิเศษยิ่งนี้ การเดินทางครั้งนี้ทำให้ผมทราบถึงความสามารถที่ยอดเยี่ยมของนายตามัญโย เขาสามารถออกแบบสถาปัตยกรรมที่รองรับการใช้งานได้ทุกรูปแบบตั้งแต่พระตำหนัก พระที่นั่ง อาคารสำนักงานจนถึงสถานที่เล็กๆอย่างห้องสมุด หรือสะพานซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหลักฐานพิสูจน์ชัดถึงความสามารถที่ไม่เป็นรองใครของยอดสถาปนิกจากอิตาลีผู้นี้ได้ครับ
ขอขอบคุณ นายมาริโอ ตามัญโญ
ภายบรรยากาศโถงทางเข้าหลัก(อดีต) |
ถ้อยคำจารึกเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่ภรรยา |
ซึ่งการเดินทางในครั้งนี้ผมคงขอจบลงด้วยสถานที่แห่งความทรงจำที่พิเศษยิ่งนี้ การเดินทางครั้งนี้ทำให้ผมทราบถึงความสามารถที่ยอดเยี่ยมของนายตามัญโย เขาสามารถออกแบบสถาปัตยกรรมที่รองรับการใช้งานได้ทุกรูปแบบตั้งแต่พระตำหนัก พระที่นั่ง อาคารสำนักงานจนถึงสถานที่เล็กๆอย่างห้องสมุด หรือสะพานซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหลักฐานพิสูจน์ชัดถึงความสามารถที่ไม่เป็นรองใครของยอดสถาปนิกจากอิตาลีผู้นี้ได้ครับ
ขอขอบคุณ นายมาริโอ ตามัญโญ
ขอขอบคุณขอมูลจาก
ช่างฝรั่งในกรุงสยาม , ศาสตาจารย์ผุสดี ทิพทัส โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2541
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยามสมัยรัชกาลที่4-2480 , สมชาติ จึงสิริอารักษ์
ชาวอิตาเลียนในราชสำนักไทย (140 ปีความสัมพันธ์ไทยอิตาเลียน) , สถานทูตอิตาลี 2551
ภาพประกอบจาก
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=haiku&month=06-2010&date=29&group=20&gblog=1