วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


Mario Tamagno

ประวัติโดยสังเขป  นายมาริโอ ตามัญโญเกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2420 ณ.เมืองตูริน ประเทศอิตาลี ตามาญโญได้เข้าศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ วิทยาลัยศิลปะอัลแบร์ตีนา ผลการเรียนดีเด่นถึงขั้นได้รับเหรียญรางวัลและทุนการศึกษาหลายครั้ง หลังจากสำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2438 ได้ร่วมสอนวิชาทางด้านทัศนียภาพวิทยาที่อัลแบ์ตินากับแฟร์โร ผู้ที่แนะนำให้เขาเดินทางมาทำงานที่กรุงเทพฯ คือ สถาปนิกชื่อ คาร์โอ เชปปี ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2443 ตามาญโญจึงออกเดินทางด้วยเรือ "โคนิก อัลเบิร์ต" มายังประเทศสยามและเซ็นสัญญาทำงานราชการในกรมโยธาธิการแทนนายซันเดรสกีซึ่งย้ายไปทำวังสวนดุสิต กรมโยธาธิการขาดสถาปนิกจึงจำเป็นต้องจ้างคนใหม่มาช่วยราชการ และเห็นว่าไม่จำเป็นต้องจ้างคนใหม่ในตำแหน่งหัวหน้า จะจ้างแต่สถาปนิกระดับผู้ช่วย พอที่จะทำงานในหน้าที่ออกแบบเขียนแบบได้ก็พอ เพื่อการจ่ายเงินค่าจ้างจะได้ลดลงด้วย กรมโยธาธิการจึงได้จ้างจ้างนายตามัญโญเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายสถาปัตยกรรม ในพ.ศ.2446 มีเงินเดือน เดือนละ48 ปอนด์ ทำสัญญาเป็นระยะเวลา25ปี โดยหลังจากหมดสัญญานายตามัญโญก็เดินทางกลับบ้านเกิด ซึ่งขณะนั้นอิตาลีอยู่ในช่วงเริ่มต้นของระบอบฟาสซิมส์มีการออกกฏหมายให้สถาปนิกต้องเข้าเป็นสมาชิกองค์กรสถาปนิก ตามัญโญก็ยังคงประกอบวิชาชีพสถาปนิก ในบรรดาสถาปนิกในเมืองตูรินมีเขาคนเดียวที่ไม่ได้เข้าร่วมสมาชิกพรรคฟาสซิสม์ต่อมาตามัญโญได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งและเสียชีวิตในปีพ.ศ.2484 

นายมาริโอ ตามัญโญ
ผลงานและวิธีการทำงานของสถาปนิกเอกชาวอิตาเลียน

นายมาริโอ ตามัญโญทำงานอยู่ที่สยามเป็นเวลานานถึง25ปี จึงสร้างผลงานไว้มากมายโดยผู้ที่เก็บหลักฐานการทำงานของนายมาริโอคือเอเลนา ตามาญโญ ผู้เป็นหลานปู่ ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์สาขาวิชาการออกแบบก่อสร้างอยู่ที่ วิศวกรรมศาสตร์ทีี่ตุริน 

งานชิ้นแรกที่ตามาญโญรับผิดชอบคือ สะพานมัฆวานรังสรรค์ เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างถนนราชดำเนินนอก ซึ่งเป็นถนนขนาดใหญ่ แบบที่เรียกว่า Avenue ของทวีปยุโรป อยู่ในพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ผู้ออกแบบคือ นายคาร์โล อัลเลกรี นายช่างชาวอิตาลี โดยนายตามัญโญนั้นเป็นผู้ช่วนในการออกแบบและคุมงานก่อสร้าง สร้างตามสถาปัตยกรรมอิตาลีและสเปน ใช้เวลา 3 ปี ลักษณะเป็นสะพานโครงสร้างคานเหล็กพื้นคอนกรีต ส่วนประดับคือรางสะพานที่เป็นเหล็กหล่อและดวงตรารูปช้างเอราวัณ ที่กลางสะพานมีเสาหินอ่อน มุมสะพานรองรับโคมไฟสำริด ผนังเชิงลาดสะพานประดับด้วยหินอ่อน สะพานแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นสะพานที่สวยงามสะพานหนึ่งในกรุงเทพฯ รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดเมื่อ พ.ศ. 2446 และพระราชทานนามว่า สะพานมัฆวานรังสรรค์
อนึ่ง สะพานที่สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษมนี้มีชื่อเรียกคล้องจองกัน คือ สะพานเทเวศรนฤมิตร สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ สะพานมัฆวานรังสรรค์ สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรพักตร์รังสฤษดิ์ ซึ่งทั้งหมดแปลว่า "สะพานที่สร้างโดยเทวดา"

สะพานมัฆวานรังสรรค์
หลังจากนั้นได้ออกแบบพระที่นั่งอัมพรสถานร่วมกับกอลโลและอัลเลกรี ผลงานชิ้นต่อมาคือ ท้องพระโรงพระที่นั่งอภิเษกดุสิต และวัดเบญจมบพิตร ศาลาไทยที่ตั้งในงานนิทรรศการที่เซ็นต์หลุยส์ใน พ.ศ. 2477  ก็เป็นผลงานของตามัญโญเช่นกัน โดยสร้างจากพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ มีเจรินีเป็นผู้ควบคุมดูแล เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ กลับจากการเสด็จประพาสยุโรปในพ.ศ. 2450 มีการจัดสร้างซุ้มรับเสด็จแบบจีนใกล้ ๆ สะพานผ่านฟ้าลีสาศ ซึ่งต้องบูรณะใหม่ ตามาญโญบันทึกไว้สั้น ๆ ว่า
 "สะพานเก่าพังหมดแล้ว ต้องเร่งซ่อมให้ทันรับเสด็จฯ กลับจากยุโรป"
 และในปีนี้เอง ตามาญโญก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้านายช่างสถาปนิก 

สะพานผ่านฟ้าลีลาสและซุ้มรับเสด็จแบบจีน
ตลอดเวลาที่ทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ ตามัญโญไม่ใคร่มีเวลาสำหรับความรื่นเริงใด ๆ มากนัก ที่มีการบันทึกไว้เพียงโอกาสเดียวนั้นคือ เมื่อเขาแต่งงานมาเรียนนินา ซุกกาโร เจ้าสาวในอนาคตเป็นผู้เขียนเล่าไว้ มาเรียนนีนาเป็นเพื่อนร่วมสถาบันของตามาญโญ เธอเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ 25พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 มาเรียนนาบรรยายถึงความตื่นเต้นในวันก่อนวันแต่งงาน ที่เห็นการเตรียมการต่าง ๆ และเห็นของขวัญแต่งงานที่มีผู้ทะยอยส่งมาให้ไม่ขาดสาย มีทั้งแจกันเซรามิคระบายสีใบเขื่อง ชุดช้อนส้อม โถกาแฟ เหยือกจากเนย หีบซิการ์ ฯลฯ ทั้งหมดล้วนทำด้วยเงิน และในวันที่ 28 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันแต่งงาน มาเรียนนินาสวมชุดซาตินสีขาว ชายกระโปรงยาว มีผ้าบางคลุมหน้า ถือช่อดอกส้ม เธอนั่งรถม้าไปยังโบสถ์ ซึ่งเจ้าบ่าวรออยู่พร้อมแขกจำนวนมาก ทั้งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ทูตรัสเซีย ทูตเยอรมัน และหัวหน้ากอง โยธาธิการ (คาร์โล อัลเลกรี) พระผู้ประกอบพิธีเป็นชาวฝรั่งเศส คู่บ่าวสาวจึงต้องกล่าวคำตอบรัยเป็นภาษาฝรั่งเศส (oui) แทนที่จะเป็นภาษาอิตาเลีนยน (si) หลังจากพิธีแต่งงานอันหรูหราผ่านไป ชีวิตของตามาญโญก็กลับสู่ความเรียบง่ายดังเดิม ห้องทำงานของเขามีเพียงโคมไฟแบบชักรอก ปฏิทินสภากาชาด พัดลมตั้งโต๊ะ และพระพุทธรูปองค์เล็ก สิ่งที่เป็นของแปลกไปก็มีเพียงบ้านหลังน้อยสำหรับลิง ซึ่งเลาราบุตรสาวเลี้ยงไว้ดูเล่น และรถลากซึ่งใช้รถแทนรถสามล้อซึ่งอยู่ในสวนเท่านั้น แต่ในห้องทำงานอันสมถะนี้เองที่เป็นจุดเริ่มของโครงการใหญ่ ๆ หลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นตำหนักพญาไท ซึ่งมีการทำสวนและทำนาในบริเวณพระราชวัง พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งตามาญโญออกแบบร่วมกับริก็อตตี การปรับปรุงสถานีรถไฟหัวลำโพงร่วมกับริกัซซี หรือห้องสมุดเนลสัน เฮยส์ ร่วมกับแฟร์โร

บ้านที่ถนนสาทร
ห้องทำงาน
ห้องทำงาน
บุตรสาวของตามัญโญ
การออกแบบตำหนักพญาไท โดยสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งต่างๆ เป็นแบบโรแมนติก มาริโอ ตามัญโญ  ออกแบบพระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ส่วนพระที่นั่งอื่นๆ ไม่มีหลักฐานแน่ชัด ตัวอาคารมีการตกแต่งด้วยปูนปั้น ไม้แกะสลัก ตกแต่งภายในเป็นปูนปั้นและจิตรกรรมปูนเปียก มีความแปลกน่าตื่นใจ และงดงามด้วยฝีมือช่างที่ละเอียดประณีต ภายในบริเวณพระราชวังมีภูมิสถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์ที่สำคัญคือ สวนโรมัน ซึ่งเป็นสวนแบบโรแมนติกเช่นกัน 

พระที่นั่งเทวราชสภารมย์
และผลงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่งที่เป็นที่รู้จักของมาริโอตามัญโญซึ่งก็คือพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นท้องพระโรงของพระราชวังดุสิตตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกองพระที่นั่งอัมพรสถาน เป็นพระที่นั่งที่สร้างเป็นองค์สุดท้ายของพระราชวังนี้ กล่าวคือสร้างหลังจากเริ่มสร้างพระราชวังดุวิตมา 10 ปี ในปีพ.ศ.2451 เป็นพระราชวังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสร้างอย่างหรูหราที่สุดในรัชกาลที่ 5 ใช้เวลาสร้างกว่า 8 ปี จนสำเร็จสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2459 ในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยเขียนแบบตามกระแสพระราชโองการ 
ลักษณะผังโดยรวมของพระที่นั่งอนันตสมาคมดูคล้ายไม้กางเขน ที่มีแขน 2 แขน แต่ความจริงแขนกางเขนที่สำคัญมีเพียงแกนเดียวคือแกนตัดด้านตะวันออก ตรงที่เป็นโถงกลาง (CROSSING) ครอบด้วยหลังคาโดมขนาดใหญ่ ส่วนที่ดูเหมือนแกนตัดด้านทิศตะวันตกความจริงเป็นห้องกลมที่ยื่นออกมาจากแกนอาคารทั้ง2ข้าง มุขกลมนี้นอกจากประโยชน์ใช้งานแล้วถูกเสริมเข้าไปเพื่อให้ผังดูเด่นขึ้น

ผังพื้นพระที่นั่งอนันตสมาคม
หากดูอย่างิเคราะห์จะเห็นว่า ผังพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นการออกแบบผสมผสานผัง 3 ชนิดเข้าด้วยกัน คือผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าของส่วนทองพระโรงฝ่ายใน โดยมีห้องสำราญพระราชอิริยาบถรูปกลมเพิ่มเติมเข้าไป ผังรูปไม้กางเขนแบบแขนเท่ากัน (Greek cross)ของท้องพระโรงกลาง กับผังรูปไข่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าของที่ตั้งบันไดใหญ่ทางทิศตะวันออก เมื่อรวมกันเข้าจะเป็นผังแบบไม้กางเขนแกนยาวที่เน้นจุดศูนย์กลาง(ตรงจุดตัด) อันเป็นลักษณะสำคัญของผังอาคารยุคเรเนสซองส์ อย่างไรก็ตามหากพิจรณาการวางผังพระที่นั่งอนันตสมาคมแล้วจะเห็นว่ายังจัดลำดับการเข้าถึงจากหน้าไปหลังในทำนองเดียวกับพระที่นั่งโบราณของไทย คือมีท้องพระโรงอยู่ข้างหน้า ท้องพระโรงฝ่ายในอยู่ข้างหลัง ส่วนพระที่นั่งประทับสำราญพระอิริยาบถอยู่ตรงกลาง ขณะเดียวกันหากพิจรณาทิศทางการวางอาคารก็ยิ่งเห็นว่าเป็นการวางอาคารแบบไทยไม่ใช่ตะวันตก เพราะทางเข้าหลักของโบสถ์ฝรั่งที่มีผังแบบเดียวกับพระที่นั่งนี้จะต้องเข้าทางตะวันตก หรือพูดง่ายๆว่าจะต้องหันหน้าไปทางทิศตะวันตก แต่พระที่นั่งอนันตสมาคมกลับมีทางเข้าใหญ่อยู่ที่ทิศตะวันออก และที่แปลกกว่านั้นคือ ที่เพดานครึ่งโดมด้านตะวันตกสุดนั้น วาดภาพพระพุทธชินราชขนาดใหญ่อยู่ด้วย เสมือนหนึ่งอันเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานไว้ทางปลายสุดด้านตะวันตก พระที่นั่งองค์นี้จึงวางผังประดุจเช่นวัดไทยวัดหนึ่งนั้นเอง เข้าข่ายการทำตึกฝรั่งให้เป็นไทย


ภาพพระพุทธชินราช
พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นมาแบบสถาปัตยกรรม แบบอิตาเลียนเรอเนสซองส์ และแบบนีโอคลาสสิก(Neo classic) ภายนอกประดับด้วยหินอ่อนซึ่งสั่งมาจากเมือง คารารา (Carara) ประเทศอิตาลี องค์พระที่นั่งเป็นอาคารมหินอ่อนสองชั้น มีโดมสูงใหญ่อยู่ตรงกลาง และมีโดมเล็กๆ โดยรอบตึก 6โดม รวมทั้งสิ้นมี โดม ส่วนกว้างขององค์พระที่นั่ง ประมาณได้ 47.49 เมตร ยาว ประมาณ 112.50 เมตร ส่วนสูงประมาณ 47.49 เมตร




ภาพขณะกำลังก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม
 การออกแบบสถานีหัวลำโพงสถาปัตยกรรมของตัวสถานีเป็นแบบคลาสสิก (Classicism) คือ เป็นงานเลียนแบบสถาปัตยกรรมโบราณของกรีก –โรมันซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ตัวสถานีแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คืออาคารมุขหน้า มีลักษณะเหมือนระเบียงยาว และอาคารโถงสถานีเป็นอาคารหลังคาโค้งขนาดใหญ่(โดมคล้ายสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์)จุดเด่นของสถานีหัวลำโพงอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอา กาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งประดับไว้อย่างผสมผสาน กลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาซึ่งติดตั้งไว้กลางส่วนโค้งของอาคารด้านในและด้าน นอก โดยเป็นนาฬิกาที่สั่งทำขึ้นพิเศษเป็นการเฉพาะและอีกส่วนคือบริเวณที่พักผู้โดยสารเป็นห้องโถงชั้นครึ่ง ชั้นล่างซึ่งมีที่นั่งจำนวนมาก และมีร้านค้าหลากหลาย

เปรียบเทียบสถานีหัวลำโพงและFrankfurt station
ตามัญโญออกแบบศาลาไทยสองหลัง หลังแรกสร้างแบบที่กรุงเทพฯ ร่วมกับกอลโลและมันเฟรดี และนำไปตั้งแสดงที่ปาร์โก เดล วาเลนติโน ในพ.ศ. 2454 หลังที่สองนำไปแสดงที่งานนิทรรศการซึ่งจัดขึ้นที่ซานฟรานซิสโก ในพ.ศ. 2457 โดยมิสปิญโญเป็นผู้ประกอบติดตั้ง

ภาพวาดศาลาไทยที่สวนวาเลนติโน อิตาลี


ภาพถ่ายศาลาไทยที่สวนวาเลนติโน อิตาลี
ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 ตามัญโญได้ออกแบบบ้านนรสิงห์และบ้านพิษณุโลก สนามกีฬา อัฒจันทร์ สนามแข่งม้า และพระราชวังชายทะเลสำหรับการแปรพระราชฐาน ซึ่งเป็นผลงานร่วมกับฟอร์โน โมราสกี และตาเวลลา นอกจากนี้ ยังมีงานออกแบบอาคารกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลัง สะพานที่มีซุ้มประดับอันงดงามที่นครปฐม แสตมป์และเหรียญที่ระลึกต่าง ๆ ทว่างานเหล่านี้มิได้บอกอะไรเกี่ยวกับตัวตามัญโญ นอกจากแสดงถึงความขยันหมั่นเพียรของเขาเท่านั้น ตามัญโญยังคงเป็นบุรุษผู้เงียบขรึม ตามแบบฉบับของชาวปิเอมองต์อยู่โดยไม่เปลี่ยนแปร

ตามัญโญได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก และได้รับเครื่องราชอิสริยภรณ์ชั้น Cavaliere della Corona จากรัฐบาลอิตาลี และชั้น Officier de l' Instruction Publique จากรัฐบาลฝรั่งเศส ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 วิทยาลัยศิลปะอัลแบร์ตีนาได้แต่งตั้่งให้เขาเป็นราชบัณฑิต


ประจักษ์พยานแห่งความขี้อายของนายช่างสถาปนิกผู้นี้คือ ภาพถ่ายพิธีเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ - เพชรบุรี ซึ่งเขาเขียนชื่อผู้ที่อยู่ในภาพ ใกล้องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้ทุกคน ยกเว้นชื่อตัวเอง และเขียนคำอธิบายไว้ว่า

"แทนที่จะอยู่ร่วมกับบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย ผู้ลงนามข้างท้ายนี้​ ซึ่งมิได้สวมหมวกจึงหลบแดดเข้าไปอยู่หลังคนอื่นในศาลาอย่างกล้าหาญ"


อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้ได้จัดให้เขาอยู่ในตำแหน่งที่เขาควรอยู่แล้ว

วิศวกรชาวอิตาเลียนที่ไซท์งานก่อสร้างทางรถไฟกรุงเทพฯ - เพชรบุรี
จากประวัติเท่าที่สืบหามาได้พร้อมกับเรื่องราวที่เขียนถึงชีวิตส่วนตัวอันน้อยนิด จึงสามารถวิเคราะห์ถึงความสามารถความเพียรของสถาปนิกเอกชาวต่างชาติคนนี้ได้เป็นอย่างดี ทั้งความจงรักภักดีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานสถาปัตยกรรมในประเทศสยามนี้โดยไม่คำนึงถึงความสุขส่วนตัวของตนเอง  ทั้งยังเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนและใช้ชีวิตอย่างสมถะ เป็นแบบอย่างที่ดีของสถาปนิกทุกคนที่สมควรจะนำมาใช้ในการทำงานและการปฏิบัติชีวิตต่อไปในภายภาคหน้า


เที่ยว1วันตามรอยมาริโอ ตามัญโญ

 การเดินทางตามรอยสถาปนิกเอกของกรุงสยามในวันเดียวโดยเป็นการเดินทางรอบพระนครนะครับลองมาติดตามดูว่าผลงานของนายมาริโอ ตามัญโญนั้นแทรกตัวอยู่ในเมืองกรุงนี้ได้อย่างงดงามและแสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพของสถาปนิกชาวตูรินนี้ได้เป็นอย่างดี
 เราเริ่มต้นการเดินทางนี้จากพระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งเป็นท้องพระโรงของพระราชวังดุสิตถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่5 แล้วเสร็จในช่วงรัชกาลที่6นะครับ ถูกยกย่องว่าเป็นท้องพระโรงที่อลังการและสร้างอย่างสง่าที่สุด


ซึ่งภายในพระที่นั่งนี้งดเว้นการถ่ายรูปทุกชนิดจึงได้แต่ถ่ายรูปห่างๆเท่านั้นครับ



แสดงความวิจิตรของตัวพระที่นั่งซึ่งแกะสลักตัวหินอ่อนได้อย่างงดงาม

ทางเข้าหลักของตัวพระที่นั่ง ซึ่งทางซ้ายจะเป็นทางเข้าสู่บันไดที่เชื่อมไปสู่ท้องพระโรงส่วนด้านขวาจะเชื่อมกับห้องรับรอง
ซึ่งในตอนนี้ที่พระที่นั้งอนันตสมาคมนั้นมีนิทรรศการศิลป์แผ่นดินครั้งที่6 ซึ่งจัดแสดงงานศิลป์ของแผ่นดินที่หาค่ามิได้และมีความสวยงามระดับที่กล่าวได้ว่าที่สุดในแผ่นดินจริงๆ สมควรแก่การเข้าชมเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างผลงานที่ถูกนำมาจัดแสดง

บุษบกจตุรมุขพิมาน
      บุษบกเรือนยอด กลางใหญ่จำหลักไม้สักทองและเครื่องประกอบจำหลักไม้อุโลก ไม้โมกอย่างประณีต ออกมุขเป็นเรือนยอดบุษบกเล็กออกไปทั้ง ๔ ทิศ  จำหลักอย่างวิจิตรเช่นกัน  ยอดประดับบันแถลง ปักบราลี ตลอดทั้ง ๕ ยอด โดยเฉพาะทวยพิเศษรูปครุฑยุดนาค ประดับสาหร่าย ออกรูปพรหมรักษ์รวงผึ้ง เสาจำหลักพิศดารติดกาบพรหมศร ประจำยามรัดอก มีพนักจำหลักพุ่มเข้าบิณฑ์ พนักหน้าทั้ง ๔ มุข รูปเทพยดาเชิญพระแสงขรรค์ พื้นซับปีกแมลงทับ  ฐานสิงห์ ท้องไม้รายด้วยรูปครุฑ นาค ฐานสิงห์ล่างท้องไม้  ประดับรูปนรสิงห์อยู่รายรอบ
ในเรือนบุษบกพิมานห้องใหญ่ประดิษฐานพระบรมราชสัญลักษณ์ รัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒
รัชกาลที่ ๓ รัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ บุษบกพิมานมุขตะวันออก ประดิษฐานพระราชลัญกร รัชกาลที่ ๙  รูปพระแท่นอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ มุขพิมานทิศใต้ประดิษฐานพระราชลัญจกร รัชกาลที่ ๖ รูปพระมหาวชิราวุธ มุขบุษบกพิมานมุขตะวันตก ประดิษฐานพระราชลัญจกร รัชกาลที่ ๘  รูปพระสันตดุสิตโพธิสัตว์ มุขบุษบกพิมานด้านทิศเหนือประดิษฐานพระราชลัญจกร รัชกาลที่ ๗ รูปสามพระแสงศร

ผู้ทำ  ๑๑๓   คน

ใช้เวลาทำ  ๒ ปี ๒๗ วัน

ตำนานเพชรรัตน์  
ฉากจำหลักไม้ ตั้งประกับด้วยเสาเม็ดทรงมัณฑ์บนม้าไม้ขาคู้ จำหลัก ลายใบเทศ พื้นฉาก   
จำหลักไม้เรื่อง ตำนานเพชรรัตน์ ความว่า เทพยุดาเจ้าทั้งหลาย อีกทั้งฤาษีสิทธิ์ และคนธรรพ์ พากันขึ้นเฝ้าพระอิศวร ทูลถามบ่อเกิดแห่งเพชรรัตน์ ทั้ง ๙ ประการ พระอิศวรแนะให้ไปถามพระฤาษีอังคต ผู้มีอายุยาวมาแต่ครั้งกฤติยุค พระฤาษีจึงเล่าว่า บรรดาเทพนิกร  ฤาษีสิทธิ์ พิทยาธร ทั้งปวง ประสงค์จะอำนวยเพชรรัตน์ทั้ง ๙ จึงทูลให้มเหสักข์ นาม มหาพลาสูร สร้างไว้เป็นสวัสดิมงคลแห่งโลกย์ ท้าวจึงบำเพ็ญตบะอยู่ ๗ วัน จนสิ้นชีพ อีก ๗ วัน ร่างของท้าวเธอจึงแปรสภาพไปเป็นแก้ว ๙ ชนิด คือ หัวใจ
เป็นเพชรและทับทิม นัยน์ตาขวาเป็นแก้วไพฑูรย์ นัยน์ตาซ้ายเป็นแก้วโกเมน  ลิ้นเป็นแก้วประพาฬ
น้ำเลี้ยงหัวใจเป็นแก้วจันทกานต์ เป็นต้น
อนึ่งเมื่อท้าวมหาพลาสูรสิ้นชีวิตร มีพระยาพาสุกินนาคราช สูบโลหิตท้าวจนแห้ง นาคนั้นถูกครุฑ
จับไป ระหว่างทางสำรอกเลือด เป็นแก้วนาคสวาสดิ และมรกฎ น้ำลายเป็นครุทธิการ

ผู้ทำ       ๖๙    คน
ใช้เวลาทำ   ๑๐ เดือน ๓  วัน

และยังมีงานชิ้นเอกอีกมากมายซึ่งความรูปสึกที่ได้เข้าไปสัมผัสกับงานชิ้นเอกเหล่านี้รวมเข้ากับความสวยงามของสถาปัตยกรรมที่มีพลังแล้ว สามารถกล่าวได้เลยว่าเป็นความประทับใจอย่างหาที่สุดมิได้จริงๆ ซึ่งภายในพระที่นั่งอนันตสมาคมนั้น เป็นสถาปัตยกรรมฝรั่งที่แฝงความเป็นไทยไปในรายละเอียดทั้งงานตกแต่ง และภาพเขียนที่โดดเด่นและสวยงามบนเพดาน และด้วยสเปซของตัวโดมที่ทำให้ตัวท้องพระโรงนี้ดูยิ่งใหญ่แล้ว จึงเกิดความรู้สึกที่อธิบายเป็นคำพูดได้ยากเหลือเกินครับ


ซึ่งนิทรรศการงานศิลป์แผ่นดินจะเปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์ 10.00-17.00 ครับ ซึ่งเป็นนิทรรศการที่ผมแนะนำให้ไปดูและอย่าพลาดเลยครับ

จากพระที่นั่งอนันตสมาคมเรามาดูสถาปัตยกรรมชิ้นแรกที่นายมาริโอ ตามัญโญได้มีส่วนร่วมในการสร้างนั้นคือสะพานมัฆวานรังสรรค์ครับ ซึ่งสามารถเดินทางมาจากถนนราชดำเนินนอกจากตัวพระที่นั่งได้เลย สะพานนี้ใช้ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมครับ โดยเป็นโครงสร้างคานเหล็กพื้นคอนกรีต ส่วนประดับคือรางสะพานที่เป็นเหล็กหล่อและดวงตรารูปช้างเอราวัณที่กลางสะพาน มีเสาหินอ่อนมุมสะพานรองรับโคมไฟสำริด ผนังเชิงลาดสะพานประดับด้วยหินอ่อน


ดวงตรารูปช้างเอราวัณ 

เสาหินอ่อนมุมสะพานรองรับโคมไฟสำริด
 พอเสร็จจากสะพานมัฆวานรังสรรค์แล้วเป้าหมายต่อไปของเราคืออาคารกระทรางพาณิชณ์เก่าหรือในปัจจุบันคือสถานที่ตั้งของมิวเซียมสยามครับ
 เป็นอาคารสูง 3 ชั้น มีผังเป็นรูปตัวอี (E) ก่ออิฐถือปูนเรียบทาสีเหลืองอ่อนโดยออกแบบให้มีระเบียงในส่วนด้านหน้าของอาคารทุกชั้น 




 โดยทางเข้าด้านหน้าเป็นโถงบันไดไม้ที่สวยงามและดูมีมนต์ขลังของสถาปัตยกรรมในยุคต้นศตวรรษที่20


 ตัวอาคารออกแบบให้มีระเบียงอยู่ทางด้านหน้าซึ่งใช้เป็นตัวเชื่อมพื้นที่


 โดยการตกแต่งเริ่มมีการทำให้เรียบง่ายตามสมัยนิยม ที่เริ่มจะมีการเปลี่ยนแนวทางในการออกแบบสถาปัตยกรรมให้มีความเรียบง่ายมากยิ่งขึ้น (simplified ) แต่ยังคงกลิ่นอายของสถาปัตยกรรมยุคเรเนสซองค์ไว้อย่างเลือนลาง และเป็นเสน่ห์ที่สำคัญให้อาคารนี้ดูคลาสสิคอย่างดีทีเดียว
ลดการตกแต่งละประดับประดาลง

ยังคงไว้ซึ่งรูปแบบของสถาปัตยกรรมเรเนสซองค์

โถงทางเข้า




ต่อจากอาคารกระทรวงพาณิชย์นะครับสถานที่ต่อไปที่เราจะไปเยือนนั้นได้ชื่อเป็นสถานที่ที่สวยงามมากชิ้นหนึ่งและเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นเอกที่ทำให้นายมาริโอ ตามัญโญถูกจดจำเลยทีเดียว นั้นคือห้องสมุดเนียลสันเฮย์ครับ 


ประวัติโดยสังเขปของห้องสมุดแห่งนี้นะครับ ภายหลังการเสียชีวิตของนางเจนนี่ เนลสัน เฮส์ ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งห้องสมุดบางกอก ไลบารี แอสโซซิเอชั่น ร่วมกับภรรยาหมอบรัดเลย์ และหมอสมิธ เพื่อให้บริการ แก่ชาวต่างชาติ นายแพทย์เฮส์แพทย์ใหญ่ประจำการในกรมการ แพทย์ทหารเรือไทย ผู้เป็นสามีได้สร้างอาคารห้องสมุด  เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักขึ้นในพุทธศักราช 2464





โดยปกติแล้วตามที่นายมาริโอ ตามัญโญออกแบบไว้นั้นทางเข้าหลักจะอยู่ที่ตัวโดมที่ติดกับถนน แต่ทว่าในปัจจุบันทางเข้าถูกปรับเปลี่ยนให้เข้าจากทางด้านข้างเพราะ ที่จอดรถของตัวห้องสมุดอยู่ทางด้านข้าง และต้องการให้มีเพียวทางเข้าเดียวเพื่อสะดวกแก่การดูแลผู้ใช้บริการ ทางเข้าทางด้านหน้าเลยถูกปิดไป

ทางเข้าเดิม ซึ่งเชื่อมต่อกับโถงด้านใน

รูปด้านหน้าที่นายมาริโอ ตามัญโญออกแบบไว้
ภาพบรรยากาศภายใน
โดยพอเข้ามาก็สัมผัสได้ถึงความขลังของห้องสมุดแห่งนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยบนนยากาศราวกับอยู่ที่ต่างประเทศเลย การทำให้เพดานยกสูงขึ้นทำให้เกิดสเปซที่ดูโปร่ง รวมเข้ากับช่องแสงที่เจาะจากอาร์คของช่องหน้าต่างทำให้มีความสวยงามเป็นพิเศษในยามบ่ายในวันสบายๆที่แสงลอดผ่านเข้ามา

ภาพบรรยากาศภายใน
ส่วนการตกแต่งโดยใช้ตัวสถาปัตยกรรมทั้งรูปแบบเสา ทั้งในส่วนของอาร์คต่างๆ และเพดานสูง ยิ่งช่วยเสริมความสง่าให้ห้องสมุดแห่งนี้ได้อย่าสมบูรณ์

และส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้คือสเปซของโถงที่โดมครอบอยู่ทางด้านหน้านั้น ให้ความรูปสึกที่สวยงามอย่างยิ่งทั้งยังมีการเจาะช่องแสงให้แสงจากภายนอกส่องลงมา และยังมีศิลาจารึกที่กล่าวถึงภรรยาที่จากไปด้วยนั้น ทำให้เป็นโถงที่ให้ความรู้สึกที่พิเศษจริงๆ

ภายบรรยากาศโถงทางเข้าหลัก(อดีต)
ถ้อยคำจารึกเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่ภรรยา
ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้ห้องสมุดนี้สวยงามดั่งคำกล่าวที่มีคนขนานนามว่าห้องสมุดที่สวยที่สุดในกรุงเทพได้จริงๆ อีกทั้งยังได้ชื่อว่าทัชมาฮาลของคนรักการอ่านหนังสือ ด้วยเพราะสถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยความทรงจำ และความคิดถึงของคนหนึ่งๆ จึงทำให้ให้สถานที่แห่งนี้พิเศษยิ่งขึ้นและจะคงความพิเศษนี้อีกนานและนานต่อไปสมกับชื่อห้องสมุดแห่งความรักจริงๆครับ



ซึ่งการเดินทางในครั้งนี้ผมคงขอจบลงด้วยสถานที่แห่งความทรงจำที่พิเศษยิ่งนี้ การเดินทางครั้งนี้ทำให้ผมทราบถึงความสามารถที่ยอดเยี่ยมของนายตามัญโย เขาสามารถออกแบบสถาปัตยกรรมที่รองรับการใช้งานได้ทุกรูปแบบตั้งแต่พระตำหนัก พระที่นั่ง อาคารสำนักงานจนถึงสถานที่เล็กๆอย่างห้องสมุด หรือสะพานซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหลักฐานพิสูจน์ชัดถึงความสามารถที่ไม่เป็นรองใครของยอดสถาปนิกจากอิตาลีผู้นี้ได้ครับ

ขอขอบคุณ นายมาริโอ ตามัญโญ

ขอขอบคุณขอมูลจาก

ช่างฝรั่งในกรุงสยาม , ศาสตาจารย์ผุสดี ทิพทัส โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2541
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยามสมัยรัชกาลที่4-2480 , สมชาติ จึงสิริอารักษ์
ชาวอิตาเลียนในราชสำนักไทย (140 ปีความสัมพันธ์ไทยอิตาเลียน) , สถานทูตอิตาลี 2551


ภาพประกอบจาก

 http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=haiku&month=06-2010&date=29&group=20&gblog=1





3 ความคิดเห็น:

  1. ทำไมไม่ไปสถานที่ดังกล่าวด้วยตนเองบ้างล่ะ??

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลที่มีค่าทั้งหมดนี้ครับ ผมเป็นอีกคนที่ชื่นชมในผลงานของสถาปนิกท่านนี้ และด้วยความบังเอิญ มาอาศัยที่คอนโด ที่ครั้งหนึ่งตัวสโมสร ที่กลายเป็นทางเข้าหลักของคอนโด เคยเป็นบ้านของพระยาประเสริศศุภกิจ มหาดเล็กหุ้มแพรในสมัยรัชกาลที่ ๕ และรับใช้เบื้องยุคลบาทจนถึงยุครัชกาลที่ ๖ ซึ่งพระองค์ทรงโปรดให้นายช่างตามัญโญ มาออกแบบบ้านให้กับท่านพระยา และทรงเสด็จมาเหยียบบ้านเมื่อสร้างเสร็จแล้วด้วย

    ตอบลบ
  3. อยากรู้ว่าบ้านพักในไทย ท่านมาริโอ ตามัญโญ อยู่ที่ไหนค่ะ

    ตอบลบ